วันที่ 21 เม.ย. 2565
Data Loss Prevention มักถูกออกแบบมาให้เหมาะสมตามกระบวนการทำงานของแต่ละองค์กร รวมทั้งบริษัทและผู้เชี่ยวชาญด้าน Cybersecurity แต่ละเจ้าก็จะมีระบบ รูปแบบ และกระบวนการทำงานที่มีรายละเอียดยิบย่อยแตกต่างกันไป ซึ่งเราสามารถสรุปขั้นตอนการทำงานของ DLP ได้เป็นขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้
1. หลังจากติดตั้งโปรแกรมและวางระบบ DLP จะมีการเข้ามาตรวจสอบข้อมูลโดยการควบคุม วิเคราะห์ และคัดแยกข้อมูล เพื่อนำข้อมูลมาจัดลำดับความสำคัญและจำกัดสิทธิ์ในการรับ ส่ง และเข้าถึงข้อมูล รวมทั้งติดตามการกระทำต่างๆ ที่เกิดกับข้อมูล ในขั้นตอนนี้เราสามารถเลือกได้ว่าข้อมูลประเภทไหนจะมีการดำเนินการอย่างไร และมีความจำเป็นต้องป้องกันความปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน
2. เมื่อมีบุคคลเข้ามาทำบางสิ่งกับข้อมูล เช่น การกรอกข้อมูล การส่งข้อมูล การรับข้อมูล การเข้ารหัส การคัดลอกและสแกนข้อมูล โปรแกรม DLP จะคอยตรวจสอบทุกการเคลื่อนไหวของข้อมูลจากทุกช่องทางไม่ว่าจะเป็น ช่องทางออนไลน์ เช่น Email, Application, Website, Social Media และ Cloud ช่องทางเซิร์ฟเวอร์ เช่น โปรแกรมหรือเซิร์ฟเวอร์ของบริษัท ช่องทางอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ, คอมพิวเตอร์, โน้ตบุ๊ก และ USB
3. หากพบว่ามีการกระทำเกินกว่าสิทธิ์จากผู้เข้าถึงข้อมูล DLP จะตรวจสอบและส่งการแจ้งเตือนการกระทำที่น่าสงสัยไปยัง “ผู้มีหน้าที่ดูแลข้อมูล” ซึ่งในที่นี้อาจเป็นคนหรือเป็นระบบ AI ที่ทำงานร่วมกัน
4. ผู้ดูแลข้อมูลมีหน้าที่ประเมินความเหมาะสมและเลือกที่จะอนุญาตให้เข้าถึง ยกเลิกการเข้าถึง บล็อกการเข้าถึง ตรวจสอบ หรือขอข้อมูลยืนยันสิทธิ์ผู้ใช้งาน
โดยระบบ Data Loss Prevention จะตรวจสอบเนื้อหาเชิงลึกในทุกการกระทำที่เกิดขึ้นกับข้อมูลและคอยรายงานความผิดปกติเพื่อยับยั้งการโจรกรรมข้อมูลที่อาจเกิดขึ้น
ดังนั้น Data Loss Prevention หรือ DLP จึงสามารถช่วยป้องกันการรั่วไหลข้อมูลก่อนที่จะสายเกินไป และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบป้องกันความปลอดภัยแบบดั้งเดิมอย่าง Anti-Virus และ Firewall ได้อีกด้วย
ที่มาข้อมูล: