โดยเมื่อไม่นานมานี้ หลายคนคงเห็นภาพที่แชร์ทางสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊กที่พูดคุยถึงเรื่องโปรแกรม Midjourney และภาพที่รังสรรค์โดยปัญญาประดิษฐ์ (AI art)ในรูปแบบต่าง ๆ จากการใช้ข้อความหรือคีย์เวิร์ดสำคัญ แล้วระบบจะประมวลผลและสร้างผลงานศิลปะออกมา ทว่าได้มีประเด็นข้อถกเถียงหลายอย่างที่กำลังเกิดขึ้นในวงการศิลปะเกี่ยวกับการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้งานเพื่อออกแบบผลงานศิลปะจากคำสั่งมนุษย์ได้อย่างรวดเร็วและสวยงาม ว่าไม่สามารถนำมาจดลิขสิทธ์ได้แต่อย่างใด
จากเหตุการณ์ดังกล่าวที่เคยมีข้อถกเถียงกันมาเนิ่นนาน จนเร็วๆนี้ได้มีข้อสรุปจากเรื่องราวดังที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ผู้พิพากษาสหรัฐฯ มีคำตัดสินให้ชิ้นงานศิลปะที่ถูกสร้างจาก AI ไม่สามารถนำมาจดลิขสิทธิ์ได้
ต้นเรื่องของคำตัดสินในครั้งนี้คือ สตีเฟน ธาเลอร์ (Stephen Thaler) เป็นผู้ฟ้องร้องสำนักงานลิขสิทธิ์ของสหรัฐอเมริกาที่สำนักงานปฏิเสธการจดลิขสิทธิ์ชิ้นงานศิลปะที่สร้างมาจาก AI Creativity Machine ของบริษัท Imagination Engines ซึ่งผลงานชิ้นดังกล่าวก็คือ A Recent Entrance to Paradise
ผู้พิพากษา เบริล เอ. โฮเวลล์ (Beryl A. Howell) ศาลแขวงสหรัฐฯ ได้ให้เหตุผลปฏิเสธคำกล่าวอ้างของธาเลอร์ว่า ไม่สามารถจดลิขสิทธิ์ชิ้นงานศิลปะได้เพราะการสร้างสรรค์ชิ้นงานดังกล่าวไม่มีมนุษย์มาเป็นส่วนร่วม
โฮเวลล์ได้ระบุในคำตัดสินว่า การมีส่วนร่วม และความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์สามารถถูกส่งผ่านเครื่องมือ หรือสื่อ ซึ่งเครื่องมือที่ได้ระบุคือกล้อง โดยกล้องสร้างภาพใหม่ได้มาจากการตัดสินใจของมนุษย์ การจัดเตรียม การวางตำแหน่งวัตถุหรือแบบ การจัดแสง และอื่น ๆ อีกมากมาย
We’ll answer your questions and help with your organization’s needs.
Contact Us
Mr. Prasit P. (Business Development Executive)
Email : prasit.p@geniussoft.co.th
Mobile : 086-398-9029
+66(0) 2 004 9355
+66(0) 2 064 7433
info@geniussoft.co.th
88 Paso Tower, 15th floor, unit B2, Silom Road, Suriyawong, Bangrak, Bangkok, Thailand 10500