ลูกหนี้มีเฮ : สรุปมาตรการแก้ไขหนี้นโยบายรัฐบาล  วาระแห่งชาติ ทั้งหนี้ในระบบ และ หนี้นอกระบบ

เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ชูนโยบาย แก้หนี้ทั้งระบบ และยกเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อ ปลดล็อกชีวิตคนไทย เมื่อ 1 ธันวาคม ที่ผ่านมา กระทรวงมหาดไทย ยังเริ่มเปิดรับลงทะเบียนหนี้นอกระบบ เพื่อใช้ในการติดตามเจ้าหนี้และลูกหนี้ ให้เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยต่อไปด้วย

แนวทางช่วยเหลือลูกหนี้ หลากหลายกลุ่มด้วยกัน ที่จะได้รับประโยชน์จากมาตรการแก้หนี้ดังกล่าว ทั้งที่เป็นมาตรการที่ ครม. ได้เห็นชอบไปแล้ว เช่น การพักหนี้เกษตรกร, มาตรการที่รัฐบาล ระบุว่า สามารถดำเนินการขยายผลได้ทันที เช่น เรื่องหนี้ครู หนี้ข้าราชการ หนี้บัตรเครดิต หนี้เช่าซื้อรถยนต์ หรือ มอเตอร์ไซค์ ดังต่อไปนี้

แก้หนี้กลุ่มเกษตรกร

  • พักหนี้เกษตรกรทั้งต้นและดอก วงเงินไม่เกิน 300,000 บาท/ราย รวมระยะเวลา 3 ปี โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อ 26 ก.ย. 2566

หนี้นักศึกษา (หนี้ กยศ.)

  • ลดดอกเบี้ย
  • ปรับแผนจ่ายเงิน
  • ปลดผู้ค้ำประกัน
  • ถอนอายัดบัญชี

แนวทางแก้หนี้ครู และข้าราชการ 

  • หักหนี้ไม่เกิน 70% ของเงินเดือน
  • จัดทำสวัสดิการเงินกู้ข้าราชการ (ดอกเบี้ยต่ำ)

แก้หนี้บัตรเครดิตกับรัฐบาล

  • ปรับโครงสร้างหนี้ ผ่านโครงการ “คลินิกแก้หนี้” ผ่อนได้นาน 10 ปี ลดดอกเบี้ยเหลือ 3-5% ต่อปี

หนี้ สินเชื่อรถยนต์ และ รถจักรยานยนต์ 

  • กำหนดให้สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ และรถมอเตอร์ไซค์ เป็นสัญญาควบคุม มอบหมาย สคบ.ดำเนินการได้เลย ตามประกาศ เมื่อ 12 ต.ค. 2566

แก้หนี้กลุ่มธุรกิจ SME (วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม) 

  • ยกเลิกสถานะหนี้เสีย สำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
  • อนุญาตให้ปรับโครงสร้างหนี้

หนี้นอกระบบ 

  • ให้นายอำเภอ และตำรวจในท้องถิ่น ช่วยเจรจาประนอมหนี้ สำหรับผู้ที่จ่ายเงินต้นครบถ้วนแล้ว
  • เปิดให้ลงทะเบียนแก้หนี้นอกระบบ ทางออนไลน์ที่ https://debt.dopa.go.th หรือลงทะเบียนได้ ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขตทั่วประเทศ (ตั้งแต่ 1 ธ.ค. 2566 ถึง หมดเขต 29 ก.พ. 2567)

หนี้เสีย ( NPL)  

  • ตั้งบริษัทร่วมทุน ระหว่างธนาคารของรัฐ กับบริษัทบริหารสินทรัพย์เพื่อรับโอนหนี้เสีย เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้ อย่างคล่องตัวมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม รัฐบาล ระบุว่า แนวทางแก้หนี้ข้างต้นทั้งหมดเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ในระยะเร่งด่วน เพื่อต่อลมหายใจให้ลูกหนี้ทุกกลุ่ม ส่วนในระยะยาว ต้องแก้ปัญหาในระดับโครงสร้าง

เช่น การให้บริการสินเชื่อให้เหมาะสมและเป็นธรรม สะท้อนความเสี่ยงของลูกหนี้มากขึ้น, มีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคที่เหมาะสม และป้องกันปัญหาการก่อหนี้เกินศักยภาพ ซึ่งการให้สินเชื่อ จะพิจารณาข้อมูลอื่นนอกเหนือจากประวัติการชำระสินเชื่อ เช่น ประวัติการชำระค่าน้ำ หรือค่าไฟของลูกหนี้ ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้ง่ายขึ้น

การผลักดันให้สหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน รายงานข้อมูลเครดิตไปยัง NCB เพื่อให้ผู้ให้สินเชื่อทุกรายสามารถประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ และการจัดการบุริมสิทธิในการตัดเงินเดือนของลูกหนี้ที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย เพื่อชำระหนี้กับผู้ให้สินเชื่อได้อย่างเหมาะสม

ที่มา : พรรคเพื่อไทย / ThairathMoney 

เพราะนวัตกรรม และเทคโนโลยี พัฒนาไปพร้อมเราเสมอ เปลี่ยนการบริหารธุรกิจที่ยุ่งยากให้เป็นเรื่องง่าย คลิ๊ก
🖥 https://www.geniussoft.co.th/
📞 Tel 0 2064 7433
📧 Email : info@geniussoft.co.th
เพราะ GeniusSoft ส่งมอบมากกว่าความคาดหมาย เพื่อพัฒนาธุรกิจที่ยั่งยืน Make it be Genius !!!

Contact Us

We’ll answer your questions and help with your organization’s needs.

Contact Us

Mr. Prasit P. (Business Development Executive)
Email : prasit.p@geniussoft.co.th
Mobile : 086-398-9029

Contact

+66(0) 2 004 9355

+66(0) 2 064 7433

info@geniussoft.co.th

Location

88 Paso Tower, 15th  floor, unit B2, Silom Road, Suriyawong, Bangrak, Bangkok, Thailand 10500