Volare software Update กฎหมายทวงหนี้ ปี64
วันที่ 9 ก.ค. 2564
Volare software Update กฎหมายทวงหนี้ ปี64
IT Outsourcing คืออะไร
กฎหมายทวงหนี้ ถือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเราโดยตรง เพราะเชื่อว่า ทุกคนที่หาเช้ากินค่ำ มนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ๆ ต้องมีหนี้สินอย่างแน่นอน เพราะ หนี้สิน ถือเป็นภาระความรับผิดชอบที่คนส่วนใหญ่จะมีและเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น หนี้ที่เกิดจากบัตรเครดิต หนี้บ้าน หนี้รถยนต์ ถือว่าเป็นภาระหนี้สินด้วยกันทั้งหมด และเชื่อได้เลยว่า อาจจะมีบางครั้งที่เราหลงลืมในการชำระหนี้ไปด้วยเหตุผลบางสิ่งบางอย่าง หรือมีเหตุจำเป็นจริง ๆ ที่ไม่สามารถชำระหนี้นั้นได้ และนั่นก็ทำให้เราต้องโดนทวงหนี้ ซึ่งการทวงหนี้ในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ และบางรูปแบบก็เป็นการทวงหนี้ที่อาจจะผิดกฎหมายทวงหนี้ก็เป็นได้ ฉะนั้นวันนี้ GeniusSoft จึงขอมา Update กฎหมายทวงหนี้ ปี 2564 จะมีอะไรน่าสนใจบ้างตามมาดูกันเลย
1. ก่อนอื่น GeniusSoft ขอพาไปรู้จักความหมายของคำว่า “ลูกหนี้” และ “ผู้ทวงถามหนี้“
– ลูกหนี้ คือ ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ำประกัน ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาด้วย
– ผู้ทวงถามหนี้ คือ เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ให้สินเชื่อ ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเป็นปกติธุระตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน และเจ้าหนี้อื่นๆ ไม่ว่าหนี้ดังกล่าวจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม
2. ยืมเงินจำนวนเท่าไร จึงจะต้องทำหนังสือกู้ยืมเงิน?
หากยืมเงินตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไป สามารถทำหนังสือสัญญากู้ยืมได้ โดยจะต้องมีการลงลายมือชื่อทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ ซึ่งหากผิดสัญญาชำระหนี้ ก็สามารถนำไปฟ้องร้องได้เช่นกัน
3. ยืมเงินผ่านแชท ใช้เป็นหลักฐานฟ้องได้หรือไม่ ?
การทักขอยืมเงินผ่านแชท หรือแชทไลน์ สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องได้ แม้จะไม่ได้มีการทำหนังสือกู้ยืมเงิน เป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม สายใจดีให้ยืมเงินทางแชท โอนไปมีหลักฐาน แจ้งความได้เลยค่ะ
4. โทรศัพท์ไปทวงหนี้ แต่ลูกหนี้ไม่รับสาย ถือเป็นการทวงหนี้แล้วหรือไม่?
ข้อนี้อาจจะต้องอธิบายรายละเอียดกันหน่อยค่ะ
– หากผู้ทวงถามหนี้โทรศัพท์ไปหาลูกหนี้ แต่ลูกหนี้ไม่รับสาย หรือกดวางสายก่อนจะมีการพูดคุย = ไม่นับเป็นการทวงหนี้
– หากผู้ทวงถามหนี้โทรศัพท์ไปหาลูกหนี้ ลูกหนี้รับสาย แต่พูดคุยเรื่องอื่น ที่ไม่ใช่เรื่องการทวงหนี้ = ไม่นับเป็นการทวงหนี้
– หากผู้ทวงถามหนี้ทักไปสอบถามทางแชท แต่ลูกหนี้ยังไม่เปิดอ่าน = ไม่นับเป็นการทวงหนี้
– หากผู้ทวงถามหนี้ทักไปสอบถามทางแชท ลูกหนี้เปิดอ่านข้อความ แต่ไม่ตอบ = ถือเป็นการทวงหนี้แล้ว
5. ผู้ทวงถามหนี้ สามารถทวงหนี้ได้วันละกี่ครั้ง?
กฎหมายทวงหนี้ใหม่ กำหนดให้เจ้าหนี้ขสามารถทวงหนี้ได้ไม่เกินวันละ 1 ครั้ง หากฝ่าฝืนจะมีความผิด โดนโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท แต่ในกรณีที่เพื่อนยืมเงินเพื่อน ทวงเกินวันละ 1 ครั้ง ถือว่าไม่ผิด
6. “เวลาทวงถามหนี้” ควรทวงหนี้เวลาไหน จึงจะไม่ผิดกฎหมาย?
เวลาที่จะสามารถทวงหนี้ได้ คือ วันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00-20.00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์, วันหยุดราชการ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น. (ฝ่าฝืนโทษปรับสูงสุด 100,000 บาทหรือจำคุก 1 ปี)
7. การทวงหนี้แบบใด ที่ห้ามทำโดยเด็ดขาด?
– ห้ามพูดจาดูหมิ่น
– ห้ามประจาน
– ห้ามข่มขู่
– ห้ามใช้ความรุนแรง
– ห้ามทำร้ายร่างกาย
– ห้ามทำลายทรัพย์สินของลูกหนี้ให้เกิดความเสียหาย
– ห้ามเปิดเผยเรื่องหนี้ของลูกหนี้ ต่อผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง
– ห้ามส่งเอกสารเปิดผนึกทางไปรษณีย์ ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการทวงถามหนี้อย่างชัดเจน
8. หากทวงถามหนี้อย่างไม่เป็นธรรม มีโทษอย่างไร?
ถ้าทวงถามหนี้โดยไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ ฝ่ายลูกหนี้สามารถไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ และผู้ทวงถามหนี้จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1-5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000-500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
กฎหมายคุ้มครองสิทธิ ตาม พรบ.การทวงถามหนี้ ให้สิทธิคุ้มครองทั้ง เจ้าหนี้ และ ลูกหนี้ การเป็นหนี้ก็มีสิทธิทางกฎหมายนะคะ หากรู้ก่อนว่าเจ้าหนี้สามารถทำอะไรได้ หรือทำอะไรไม่ได้ ก็จะช่วยให้เราไม่โดนละเมิดสิทธิที่ควรจะเป็นได้ค่ะ หากธุรกิจของท่านสนใจระบบการจัดการและติดตามหนี้ของ Volare ซอฟต์แวร์ที่สามารถติดตามหนี้ได้ง่ายและครบวงจร สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดบริการเพิ่มเติมได้ที่ GeniusSoft …..
Contact Us